ความหมายของสุขภาพ


สุขภาพ คืออะไร
       สุขภาพ  คือ "สภาพของร่างกายและจิตใจ" สุขภาพดีจึงหมายถึง สภาพที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจ
ความสำคัญของสุขภาพ
         สุขภาพเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของการเพิ่มผลผลิต เพราะการเพิ่มผลผลิตต้องอาศัยคนทำ ถ้าคนทำการเพิ่มผลผลิตมีสุขภาพดี ย่อมสามารถทำการเพิ่มผลผลิตได้เต็มที่และต่อเนื่อง เป็นผลให้การเพิ่มผลผลิตบรรลุเป้าหมายได้โดยเร็ว ในทางตรงกันข้าม ถ้าคนที่ทำการเพิ่มผลผลิตมีสุขภาพที่ไม่ดี การเพิ่มผลผลิตจะบรรลุผลได้ช้า หรืออาจไม่บรรลุเลย
ปัญหาสุขภาพ
1.มลพิษทางสภาพแวดล้อม เกิดจากการขยายตัวของอุตสาหกรรม จึงทำให้ตัวเมืองขยายออกเป็นเหตุทำให้ชาวนาไร่ที่ทำกินต้องหักล้างถางป่าทำให้ทรัพยากรและสภาพแวดล้อมถูกทำลาย
2.การบริโภคนิยมแบบตะวันตก คือ การบริโภค นม เนย เนื้อสัตว์ และไขมัน มากเกินไปเกิดปัญหาทางสุขภาพ เนื่องจากการกินอาหารไม่ถูกส่วน
3.แนวความคิดในการดำเนินธุรกิจแบบตะวันตกที่มุ่งเน้นการแสวงกำไรอย่างเดียวทำให้คนทำงานตรากตรำ ก่อให้เกิดความเครียดในการดำรงชีวิต
      จากปัญหาทั้ง 3 ข้อนี้ จึงเป็นผลเสียต่อสุขภาพทางกายและสุขภาพจิต จากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต แนวคิด และการกินอยู่ ทำ ให้คนต้องเจ็บป่วยด้วยโรคที่ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรคมากขึ้น โรคดังกล่าวได้แก่
โรคอ้วน   คนไทยปัจจุบันป่วยด้วยโรคอ้วนถึง 25% โรคอ้วน คือ โรคที่น้ำหนักของร่างกายเกินกว่ามาตรฐานมีหลักการคิดง่ายๆ คือ 
น้ำหนักมาตรฐานชายไทย (หน่วย กิโลกรัม) = ความสูง (หน่วยเซนติเมตร) - 100
น้ำหนักมาตรฐานหญิงไทย (หน่วย กิโลกรัม) = ความสูง (หน่วยเซนติเมตร) - 110 
ตัวอย่างเช่น
ชายไทยสูง 170 เซนติเมตร น้ำหนักมาตรฐานไม่ควรเกิน 170 - 100 = 70 กิโลกรัม
หญิงไทยสูง 160 เซนติเมตร น้ำหนักมาตรฐานไม่ควรเกิน 160 - 110 = 50 กิโลกรัม เป็นต้น

  ศูนย์บริการสาธารณสุข 44ลำผักชีห หนองจอก
สนับสนุนให้ประชาชนออกกำลังกายและดูแลรักษาสุขภาพตนเอง
 

โรคไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจ  สถิติการตายของไทย (ถ้าไม่นับอุบัติเหตุ) โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นอันดับหนึ่ง เกิดจากการกินอาหารที่ผิดสัดส่วน กินไขมัน กินน้ำตาลและกินของหวานมากเกินไป
โรคเบาหวาน   เป็นโรคที่ก้าวมาอยู่ในอันดับต้นๆ ของคนไทย สาเหตุหลักเกิดจากการกินน้ำตาล และอาหารหวานมากเกินไป
โรคตับวาย และโรคไตวาย   กำลังแพร่ระบาดอยู่ทั่วไป สาเหตุที่นอกเหนือจากไวรัสแล้ว ก็คือสารเคมีและสารพิษตกค้างในอาหาร ในอากาศ และในสภาพแวดล้อม
โรคภูมิแพ้ หรือโรคภูมิต้านทานทำงานผิดปกติ    ส่วนหนึ่งเพราะมลภาวะ รอบตัว อีกส่วนหนึ่งเพราะสารเคมีที่รับเข้าไปจากอาหารสำเร็จรูปต่างๆ จากสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ การกินอาหารผิดสัดส่วน
โรคมะเร็ง    มีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับการกินเนื้อสัตว์ไขมันอิ่มตัว นม เนย สารพิษตกค้างในอาหาร และสิ่งแวดล้อม ผลข้างเคียงจากการใช้ยา การไม่กินผักสดและผลไม้สด
การแก้ไขปัญหาสุขภาพ       การที่จะทำให้สุขภาพทั่งกายและใจแข็งแรง มีหลักที่ทำง่ายๆ คือ หลัก 6 อ. ได้แก่
อาหาร    ความสำคัญของการรับประทานอาหาร มีอยู่ 2 ประการ คือ
1. ต้องได้รับอาหารครบหมู่ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ
2. ต้องได้รับอารหารในสัดส่วนที่ถูกต้อง เพราะถ้าร่างกายได้รับสารอาหารมากไปหรือน้อยไปจะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคขาดสารอาหาร เป็นต้น
อารมณ์   เป็นเรื่องราวของสุขภาพจิต ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพกายโดยตรง ดังข้อความที่ว่า "ใจเป็นนาย กายเป็นบ่าว" อารมณ์ดีส่งผลให้ระบบทางร่างกายทุกระบบทำงานเป็นปกติ แต่ถ้าอารมณ์ไม่ดีมีผลกระทบต่อระบบต่างๆ ของร่างกาย ต่อไปนี้จะเป็นข้อแนะนำ 2 ประการ เพื่อทำให้อารมณ์ดี สุขภาพจิตดี ได้แก่
1. ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด โดยการฝึกสมาธิ ทำใจให้รู้จักพอ ไม่โลภ ไม่โกรธ ไม่หลง มีความเมตตากรุณาต่อผู้อื่น ถ้ารู้สึกเครียดควรหาทางคลายเครียดโดย อ่านหนังสือ ดูหนัง ฟังเพลง
2. การออกกำลังกายสม่ำเสมอครั้งละไม่น้อยกว่า 25 นาที สัปดาห์ละ 3 ครั้งเป็นอย่างน้อย เช่น การ  เดินเร็ว การปั่นจักรยาน การวิ่งเหยาะๆ
อากาศ    ในที่นี้หมายถึงสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบๆ ตัว อากาศจัดว่ามีความสำคัญมากเช่นกัน ถ้าเป็นไปได้ควรหาโอกาสออกไปใกล้ชิดกับธรรมชาติที่บริสุทธิ์ให้บ่อยครั้ง หรืออย่างน้อยสักเดือนละครั้งก็ยังดี
ออกกำลังกาย    อย่าง 3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 30 นาที อย่าลืม เพียงขยับก็เท่ากับออกกำลังกาย
อโรคยา    ป้องกันโรคจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม  เช่น  ไข้หวัด เบาหวาน  ความดันสูง   รวมทั้งอุบัติเหตุต่าง ๆ
อบายมุข     สุรา  สารเสพติด การพนันและการสำส่อนทางเพศ   เป็นอบายมุขและภัยร้ายต่อสุขภาพ ร่างกาย   สุขภาพจิต และความร้าวฉานในครอบครัว
   
หลักสุขภาพไทย 12 ประการ
       หลักสุขภาพไทย 12 ประการ บัญญัติขึ้นเพื่อเป็นหนทางชี้นำทางแนวคิด และวิถีปฏิบัติตนให้กับผู้คนร่วมสังคมไทย ต่อไปนี้จะขอกล่าวถึงหลักสุขภาพไทย 12 ประการพอสังเขป ดังนี้คือ
ส่งเสริมวิถีชีวิต อันเป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของคนไทยด้วยการพึ่งตนเองเป็นหลักทำงานขยันขันแข็งใช้จ่ายอย่างประหยัด มัธยัสถ์
ส่งเสริมวิถีชีวิตแบบสังคมชนบท เกษตรกรรมธรรมชาติแบบผสมผสานด้วยการสร้างสังคมระดับหมู่บ้าน ตำบลที่อยู่ใกล้ ธรรมชาติ มีระบบการผลิตและหมุนเวียนบริโภคของตนเอง และพึ่งตนเองได้
กินอย่างไทย ปรุงอาหารกินเองในบ้าน ลดละการกินอาหารตะวันตกและอาหารจีน ไม่กินอาหารจนล้นเกิน กินแต่พออิ่ม เลิกสารปรุงแต่งที่ไม่มีคุณค่าอาหาร เช่น ผงชูรส
กินข้าวกล้อง หรือข้าวซ้อมมือแทนการกินข้าวขาว หรืออาหารที่ทำจากแป้งขัดขาวไม่กินน้ำตาลฟอกขาวขนมหวาน น้ำอัด ลม ไม่ใช้น้ำตาลปรุงอาหารจนมากเกินควร
ลดการกินไขมัน ชนิดที่มีกรดไขมันอิ่มตัวสูง เช่น ไขมันจากสัตว์ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันปาล์ม เลือกใช้น้ำมันพืชที่มีกรด ไขมันไม่อิ่มตัวสูง ใช้น้ำมันปรุงอาหารวันละประมาณ 3 ช้อนชา สำหรับแต่ละคน
ลดการกินเนื้อสัตว์  ให้น้อยลงเหลือเท่าที่จำเป็น ผู้ใหญ่กินเนื้อสัตว์ไม่เกินวันละ 100 กรัม เด็กวัยเจริญเติบโตกินเนื้อสัตว์ไม่ เกินวันละ 200 กรัม เลือกกินอาหารทะเล เช่น ปลา ปู กุ้งทะเล และเลิกการกินกุ้งกุลาดำ เพราะมีสารปฏิชีวนะตกค้างสูงมาก
กินผักสด ผลไม้สดให้มาก อย่างน้อยวันละ 5 ส่วนบริโภค (1 ส่วนบริโภค-ผัดสด 100 กรัม หรือ 1 จาน หรือ = น้ำผลไม้คั้น 250 ซีซี หรือ 1 แก้ว หรือ = ผลไม้หั่นชิ้น 1 จานเล็ก) เพราะผักสด ผลไม้สด เป็นแหล่งของแร่ธาตุ วิตามิน เอนไซม์ ฮอร์โมน และพลัง แห่งชีวิต ช่วยสร้างเสริมความอ่อนเยาว์ ป้องกันมะเร็ง ควรเลือกผักที่ปราศจากสารพิษปนเปื้อน
ไม่กินอาหารขยะ เช่น บะหมี่ของขนมกรุบกรอบ ไม่ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่สูบบุหรี่และเสพสารเสพติดอื่นใด เลิกดื่มชา หรือกาแฟ หันมาดื่มชาสมุนไพรแทน
ผู้ทีปรารถนาจะมีอายุยืนยาว ควรเลิกดื่มนมวัว และผลิตภัณฑ์จากวัวเพราะให้โทษมากกว่าให้ประโยชน์ ดื่มนมถั่วเหลืองที่ไม่มีครีมเทียมแทน ถ้าต้องการเสริมแคลเซียมให้กิน กุ้งแห้ง ปลากรอบ กะปิ ปลาร้า เต้าหู้ งาดำ
ออกกำลังกาย อย่างสม่ำเสมอครั้งละไม่น้อยกว่า 25 นาที สัปดาห์ละอย่างน้อย 3 ครั้ง
รู้จักคลายเครียด ฝึกสมาธิขัดเกลาความคิดและจิตวิญญาณให้รู้จักพอมีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น และรู้เห็นสรรพสิ่งตามความเป็นจริง
เรียนรู้วิธีรักษาสุขภาพด้วยตนเอง ใช้วิธีการต่างๆ ของวิถีสุขภาพแบบองค์รวมอย่างมีเหตุผล ใช้ยาเท่าที่จำเป็นเมื่อเจ็บป่วย ให้ทบทวนปัจจัยต่างๆ ในการดำเนินชีวิตที่ผ่านมา แล้วทำการแก้ไขปรับปรุง เพื่อฟื้นคืนสุขภาพที่ดีโดยเร็ว โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคความดันเลือดสูง โรคเบาหวาน โรคภูมิแพ้ และโรคมะเร็ง หลักการรักษาโรคเหล่านี้ควรรักษาต้นเหตุ คือต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการกินการอยู่ และพฤติกรรมในการคิดให้คิดจากในแง่ลบให้เป็นบวกอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น